วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

โทรทัศน์ครู


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


ความรู้ที่ได้รับ

การดูแลรักษาและส่งเสริมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้
#การดูแลให้ความช่วยเหลือ
-สร้างความภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
-มองหาจุดดีจุดแข็งของเด็ก
-ให้แรงเสริมทางบวก
-รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
-การวางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
-IEP
#การรักษาด้วยยา
-Ritalin
-Dexedrine
-Cylert
#หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มความต้องการพิเศษ
-สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ(สศศ.)
-โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
-ศูนย์การศึกษาพิเศษ
-โรงเรียนเฉพาะความพิการ
-สถาบันราชานุกูล







บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

#ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระทางราชการ
ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ.2557
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนรู้ที่ได้รับ

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

Down's syndrome
#รักษาตามอาการ
-แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
-ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมไกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด
#เน้นการดูแลแบบองค์รวม(holistic approch)
-ด้านสุขภาพอนามัย
-การส่งเสริมพัฒนาการ
-การดำรงชีวิตประจำวัน
-การฟื้นฟูสมรรถภาพ
#การเลี้ยงดูในช่วง3เดือนแรก
-การนอน
-การอาบน้ำ
#การส่งเสริมพัฒนาการ
-พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิต ภาษา
-สามารถปรับตัวช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
-สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมได้
-ลดปัญหาพฤติกรรม
-คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Autistic
#ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
#การฟื้นฟูสรรถภาพทางการศึกษา
#การรักษาด้วยยา
#การบำบัดทางเลือก
#พ่อแม่




บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ.2557
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนรู้ที่ได้รับ
1.เพื่อนกลุ่มที่5 นำเสนอรายงาน เรื่องเด็กออทิสติก

















2.อาจารย์ให้นักศึกษาทำข้อสอบกลางภาค

























บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ.2557
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

 #ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากความไม่สงบทางการเมือง

 งานที่ได้รับมอบหมาย
 อาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาทำการหางานวิจจัย 1 เรื่อง โดยมีหัวข้อดังนี้
1. ชื่องานวิจัย / ชื่อผู้วิจัย / มหาวิทยาลัย
2. ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5. นิยามศัพท์เฉพาะ
6. ประชาการ / กลุ่มตัวอย่าง
7. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8. การดำเนินการวิจัย
9. สรุปผลวิจัย


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ.2557

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำรายงานนำเสนอเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภท ได้แก่ 
กลุ่มที่1 เรื่องเด็ก L.D
กลุ่มที่2 เรื่องเด็กสมองพิการ
กลุ่มที่ 3 เรื่องเด็กสมาธิสั้น
กลุ่มที่4 เรื่องเด็กดาวน์ซินโดรม
พร้อมให้นักศึกษาทุกคนประเมินการนำเสนอของเพื่อนแต่ละกลุ่ม

การนำเสนองานเรื่องเด็กที่มีความต้องการพิเศษ





บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

#ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับช่วงเทศกาลปีใหม่


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2556 

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

#ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม




บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2556

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

#ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากจากสอบกลางภาค



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่6

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2556

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

ความรู้ที่ได้รับ

พัฒนาการ
   หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามรถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  หมายถึง เด็กที่พัฒนาการหยุดอยู่กับที่หรือถดถอย เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
-ปัจจัยสภาพแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดการบกพร่องทางพันธุกรรม
-โรคทางพันธุกรรม
-โรคทางระบบประสาท
-การติดเชื้อ
-ความผิดปรกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
-ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
-สารเคมี
-การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งขาดสารอาหาร

แนวทางวินิจฉัย
-การซักประวัติ
-การตรวจร่างกาย
-การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
-การประเมินพัฒนาการ
แบบทดสอบของGesell drawing test


















บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2556

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันพ่อแห่งชาติ




บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2556

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


ความรู้ที่ได้รับ

(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)
6.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotion Disorders) หมายถึงเด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่สภาพปกตินานๆไม่ได้ ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย แบ่งได้2ประเภท คือ เด็กที่ได้รับผลกระทบกระเทือนทางอารมณ์ กับ เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้(Children with Learning disabities)  L.D หมายถึงเด็กที่มีปัญหาการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยในการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
8.เด็กออทิสติก(Autistic) หรือ (Autism) หมายถึงเด็กที่มีความบกพร่องรุนแรงในการเลือกความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถสติปัญญาในการรับรู้ เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองติดตัวไปตลอดชีวิต
9.เด็กพิการซ้ำซ้อน(Children with Mutiple Handicaps) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้ 

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2556

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

ความรู้ที่ได้รับ

(เรียนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)

4.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ(Children with Physical and Health Impairment) หมายถึง เด็กที่อวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขาดหายไป มีปัญหาทางระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหว แบ่งได้2ประเภท คือ บกพร่องทางร่างกาย กับ บกพร่องทางสุขภาพ
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง เด็กที่พูดไม่ชัดออกเสียงเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน พูดไ่ได้ดั่งใจ อากัปกิริยาผิดปกติขณะออกเสียง


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2556

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

ความรู้ที่ได้รับ
 ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1.ทางการแพทย์ เรียกว่าเด็กพิการ คือเด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติทางด้านร่างกาย และสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติ
    สรุป เด็กพิเศษ หมายถึง เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
    ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
        1. เด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
        2. เด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง แบ่งออกเป็น 9 ประเภท
            - ทางสติปัญญา
            - ทางการได้ยิน
            - ทางร่ายกายและสุขภาพ
            - ทางการพูดและภาษา
            - ทางพฤติกรรมและอารมณ์
            - ทางการเรียนรู้
            - เด็กออทิสติก
            - เด็กพิการซ้อน
1.เด็กบกพร่องทางสติปัญญา(Children with Intellectual Disabilities) หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย มี2กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า กับเด็กปัญญาอ่อน
2.เด็กบกพร่องทางการได้ยิน(Children with Hearing Impaired) หมายถึง เด็กที่บกพร่องสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้รับฟังเสียงต่างๆไม่ชัดเจน มี2ประเภท คือ เด็กหูตึง กับเด็กหูหนวก
3.เด็กบกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments) หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็นหรือเห็นเลือนลาง มีความบกพร่องสายตาทั้ง2ข้าง สามารถมองได้ไม่ถึง1/10ของคนสายตาปกติ มี2ประเภท คือ เด็กตาบอด กับเด็กตาบอดไม่สนิท


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่1

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2556

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


ความรู้ที่ได้รับ

1.อาจารย์อธิบายแนวทางการเรียนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
2.อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปMind Mappingความรู้ก่อนการเรียนรู้เรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
Mind Mapping ความรู้ก่อนเรียนเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ